Show All PDF Close modal

ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

ชื่อ อาจารย์นภาพร ตูมน้อย
ตำแหน่ง อาจารย์ กลุ่มงานทะเบียนและประมวลผลการศึกษา
อีเมล napaporn@bcnsprnw.ac.th
ที่อยู่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
45 ถ.อรรถกวี ต.ปากน้ำโพ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000
โทร 056213471 ต่อ 120

ความเชี่ยวชาญ


  •    การพยาบาลอนามัยครอบครัวสำหรับนักศึกษาพยาบาล

       เอกสารวิชาการ เรื่อง การพยาบาลอนามัยครอบครัว ประกอบด้วย บทที่ 1 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลครอบครัว บทที่ 2 กระบวนการพยาบาลครอบครัว บทที่ 3 บทบาทหน้าที่ของพยาบาลในการดูแลครอบครัว บทที่ 4 กระบวนการเยี่ยมบ้าน บทที่ 5 กรณีศึกษาครอบครัว พยาบาลชุมชนมีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพครอบครัว (Family health) โดยผ่านกิจกรรมการพยาบาลอนามัยครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการให้ดูแลสุขภาพครอบครัว กิจกรรมดังกล่าวมีการปฏิบัติทั้งในและต่างประเทศมากกว่าศตวรรษ โดยเน้นครอบครัวเป็นหน่วยของการดูแล (unit of care) เพื่อให้ครอบครัวบรรลุสุขภาวะ สมาชิกครอบครัวสามารถทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ พยาบาลชุมชนให้บริการสุขภาพครอบครัวครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคหรือลดภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพ การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพให้กลับคืนสู่ภาวะปกติ หรืออีกนัยหนึ่งให้บริการสุขภาพครอบครัวในทุกระดับของการป้องกัน (ปฐมภูมิ ทุติยภูมิและตติยภูมิ) ร่วมกันการวางแผนดูแลสุขภาพครอบครัวอย่างต่อเนื่องและมีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน กล่าวได้ว่าการบริการพยาบาลอนามัยครอบครัวเป็นกิจกรรมสำคัญของการปฏิบัติงานด้านพยาบาลชุมชน และเป็นวิธีหลักวิธีหนึ่งที่พยาบาลชุมชนให้บริการสุขภาพแก่ผู้รับบริการ คือ ครอบครัว การส่งเสริมสุขภาพและลดภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพครอบครัว พยาบาลชุมชนจะต้องทำงานร่วมกับครอบครัวทั้งในและนอกคลินิก เพื่อค้นหาวิธีการลดภาวะเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพ การป้องกันความเจ็บป่วย อุบัติเหตุ และการตายก่อนวัยอันสมควร พยาบาลจะเอื้อโอกาสหรือช่วยครอบครัวให้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาหรือภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพ ครอบครัวได้มีโอกาสเรียนรู้การใช้แหล่งประโยชน์สำหรับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค (ซึ่งเป็นการป้องกันในระดับปฐมภูมิ) การบริการพยาบาลอนามัยครอบครัว จึงช่วยส่งเสริมให้สมาชิกครอบครัวมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการดูแลสุขภาพ หรือตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของครอบครัว ทั้งนี้พยาบาลชุมชนต้องประยุกต์กระบวนการพยาบาลครอบครัวซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการพยาบาลในการดูแลสุขภาพครอบครัว ดังนั้น การนำแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลครอบครัว หลักการพยาบาลครอบครัวแบบองค์รวม กระบวนการให้บริการสุขภาพที่บ้านและเทคนิคการเยี่ยมบ้าน และกระบวนการพยาบาลครอบครัว มาประยุกต์ใช้ในการพยาบาลครอบครัว และปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลครอบครัว เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ใช้บริการและครอบครัวได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนให้ผู้รับบริการดึงศักยภาพของตนเองมาใช้ในการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม

       การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่อยู่ลำพัง ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ อาจารย์สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชนพยาบาลพี่เลี้ยง จำนวน 15 คน นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 31คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์เชิงลึกเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอน และแบบสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการของนักศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการเยี่ยมบ้านของอาจารย์ และพยาบาลพี่เลี้ยง อาจารย์ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบสิ่งสนับสนุนเพียงพอ และเหมาะสม นักศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ สามารถให้การพยาบาลได้ 2) ปัญหา/อุปสรรค และความต้องการของอาจารย์ผู้สอน และพยาบาลพี่เลี้ยงในการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาไม่ค่อยเตรียมตัวก่อนฝึกภาคปฏิบัติ ขาดทักษะการสร้างสัมพันธภาพขาดความกระตือรือร้น ขาดการเตรียมพร้อมด้านความรู้ และการวางแผนการเยี่ยมบ้าน 3) ข้อเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอน ควรมีการเชื่อมโยงเนื้อหาเกี่ยวกับทักษะการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตนเอง ผลการวิเคราะห์ปัญหาต่อการพัฒนาทักษะเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนีสวรรค์ประชารักษ์นครสวรรค์อยู่ในระดับน้อย (X = 2.36, S.D. = 0.80) รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่อยู่ลำพัง ประกอบด้วย แนวคิดพื้นฐาน วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน เนื้อหา การประเมินผล ผลการใช้รูปแบบการสอน พบว่า นักศึกษามีความรู้เฉลี่ยหลังการใช้รูปแบบการสอนสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 14.110 ; p < 0.000) มีทักษะการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังในระดับดีมาก นักศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนในระดับมากที่สุด ผลการปรับปรุงรูปแบบการสอน ผู้เชี่ยวชาญพึงพอใจในรูปแบบการสอนระดับมากขึ้นไป สามารถนำไปใช้ส่งเสริมทักษะการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังได้